“เอามะตะบะใส่ไก่จานนึงครับ”
เป็นคำพูดที่ผู้เขียนสั่งกับคนที่ไม่รู้จักมักคุ้นกันมาก่อน ที่ร้านมะตะบะท่าพระจันทร์ ซึ่งเขาผู้นั้น ปัจเจกชนทั่วไปจะเรียกว่า “เด็กเสิร์ฟ” เวลาผ่านไปไม่กี่อึดใจ มะตะบะไส้ไก่ร้อนๆ ก็ได้มาอยู่ภายในกระเพาะเล็กๆในท้องใหญ่ๆของผู้เขียนแล้ว จิบน้ำเพื่อส่งสัญญาณให้กระเพาะว่ามื้อนี้พอแค่นี้แล้วกัน มะตะบะที่ดูเหมือนหารับประทานได้ทั่วไป สามารถบ่งบอกอะไรเราได้บ้าง?
มะตะบะชิ้นเล็กๆ ร้อนๆ ก่อกำเนิดมาได้จากการรับเอาวัฒนธรรมอาหารจากชาวมุสลิม จากการรับเอา เทคโนโลยีที่พัฒนาอันได้แก่ เตาแก๊ส เตาอบ ตู้แช่เย็น จากการซื้อขายวัตถุดิบของผู้ขายมะตะบะกับผู้ขายวัตถุดิบ เช่น แป้ง น้ำมันพืช เนื้อไก่ เป็นต้น ซึ่งผู้ขายวัตถุดิบก็จัดหาจัดซื้อมาจากผู้ผลิตรายแรกอีกทีหนึ่ง
โดยที่ก็ต้องมีการติดต่อสื่อสารกับผู้ขายเพื่อต่อรองราคา และตรวจสอบราคาว่าเป็นอย่างไร ราคาจะปรับเปลี่ยนขึ้นตามราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นหรือไม่ อีกทั้งวัตถุดิบที่นำมาทำเป็นมะตะบะอาจจะมาจากโรงงาน ซึ่งผู้บริหารโรงงานนั้นก็อาจเป็นชาวต่างประเทศที่มาลงทุนร่วมห
ุ้นกับชาวไทยในประเทศ หรือยิ่งไปกว่านั้นก็อาจจะเป็นโรงงานเป็นของชาวต่างประเทศโดยตร
ง ที่มาขยายกิจการในประเทศไทย ทำการผลิตวัตถุดิบขายให้กับคนไทยเองและส่งออกให้กับบางประเทศอี
กด้วย วัตถุดิบจะมาถึงผู้ซื้อได้ก็ต้องพึ่งพาการขนส่ง ซึ่งต้องใช้น้ำมันเป็นเชื้อเพลิงให้กับยานยนต์ที่ขนส่งวัตถุดิบ
น้ำมันก็ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ และ นำมากลั่นด้วยเทคโนโลยีอันทันสมัยที่เป็นผลมาจากการเปิดประเทศ ภายใต้กรอบแห่งการค้าเสรีระหว่างประเทศ นอกจากนี้ผู้เขียนประทับใจในรสชาติของมะตะบะ จึงได้บอกกล่าวผ่านเทคโนโลยีการสื่อสารที่มีรวดเร็วและทันสมัย นั่นคือเครือข่าย Internet แก่ผู้คนที่กำลังท่องเที่ยวอยู่ใน Cyber Space ซึ่งเป็นพรมแดนที่ไร้ขอบเขต
มะตะบะแค่ชิ้นเดียว สะเทือนไปทั่วขนาดนั้นเลยหรือ ?
คำตอบเพราะ เราอยู่ในยุคโลกาภิวัตน์
คำว่า “โลกาภิวัตน์” หรือ “โลกานุวัตร” (Globalization) เป็นศัพท์ใหม่ที่สร้างความฮือฮาและร้อนแรงทั้งในวงการวิชาการแล
ะสื่อสารมวลชนในช่วงทศวรรษ 1990 คำคำนี้มีผลในทุกๆ มิติ ไม่ว่าจะเป็นเศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรม สังคม สิ่งแวดล้อม