IT314: Multimodal Transport & International Logistics
The Banomyong Multimodal Transport Cost Model ความหมายของการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ (Multimodal Transport) ได้มีผู้แปลความหมายไว้มากมาย แต่ในที่นี้จะหยิบยกคำนิยามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติการขนส
่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ พ.ศ. 2548 ซึ่งนิยามไว้ว่า “การขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ (Multimodal Transport) หมายความถึง การรับขนของโดยมีรูปแบบการขนส่งที่แตก ต่างกันตั้งแต่สองรูปแบบขึ้นไป ภายใต้สัญญาขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบฉบับเดียว โดยขนส่งจากสถานที่ซึ่งผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องได้รับมอบของ
ในประเทศหนึ่งไปยังสถานที่ซึ่งกำหนดให้เป็นสถานที่ส่งมอบของในอ
ีกประเทศหนึ่ง” หรือรู้จักกันในศัพท์อีกคำหนึ่งว่า “intermodal transport” โดยผู้ที่เข้ามาทำหน้าที่เป็นผู้ให้บริการในรูปแบบนี้ จะต้องเป็นผู้ประกอบการเพียงรายเดียวที่สามารถรับผิดชอบการให้บ
ริการแบบ Door-to-door และที่สำคัญคือจะต้องรับภาระความรับผิดชอบตลอดกระบวนการจัดส่งส
ินค้าได้ ซึ่งศัพท์อย่างเป็นทางการ จะเรียกว่า ผู้ประกอบการการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ หรือ Multimodal Transport Operator (MTO) การขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบมีวัตถุประสงค์เพื่อให้การเคลื่อนย
้ายสินค้าอย่างมีประสิทธิภาพ ลดระยะเวลาของการขนส่ง ลดต้นทุนการขนส่งของ MTO เพิ่มประสิทธิภาพให้มีศักยภาพการแข่งขัน และให้สินค้ามีความปลอดภัยที่ดีกว่า ทั้งนี้ Multimodal Transport ถือว่าเป็นเพียงส่วนหนึ่งในระบบโลจิสติกส์เท่านั้นเอง
เนื่องจากการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบเป็นการขนส่งที่มีการใช้ว
ิธีการขนส่ง 2 รูปแบบขึ้นไปเข้ามาเกี่ยวข้อง ประเด็นในเรื่องของการเลือกรูปแบบการขนส่งที่นำมาผสมผสานกันในร
ะบบการขนส่งจากจุดกำเนิดไปยังจุดปลายทางจึงเป็นสิ่งที่ต้องพิจา
รณาให้ดี เพราะรูปแบบการขนส่งต่างๆจะมีผลกระทบต่อสมรรถภาพของทั้งกระบวนก
ารการขนส่งต่อ เนื่องหลายรูปแบบ จึงได้มีการพัฒนาแบบจำลองทางต้นทุนสำหรับการขนส่งต่อเนื่องหลาย
รูปแบบขึ้น โดยจะอธิบายแบบจำลองของ Banomyong Multimodal transport cost ก่อน
จากรูปที่ 1 แสดงแบบจำลองทางต้นทุนสำหรับการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบถูกพัฒ
นาขึ้นโดยรองศาสตราจารย์ ดร.รุธิร์ พนมยงค์ ในงานวิจัย