ายและน่าสนใจอยู่มากมาย อันเป็นมรดกอันล้ำค่าที่สืบทอดต่อกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษจวบจนปั
จจุบัน ไม่ว่าจะเป็น ทะเล น้ำตก ภูเขา วัดวาอาราม เป็นต้น ซึ่งเป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวทั้งไทยและต่างประเทศ
แต่การเข้ามาของนักท่องเที่ยวก็ก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชน ผลกระทบด้านบวกทำให้ชุมชนมีรายได้มากขึ้น แต่ก็ทำให้เกิดปัญหามากมายเช่นกัน วิถีชีวิตของชุมชนบริเวณสถานที่ท่องเที่ยวต้องปรับเปลี่ยนให้เป
็นไปตามความต้องการของนักท่องเที่ยว ซึ่งบางครั้งก็ขัดแย้งกับวัฒนธรรมท้องถิ่นของชุมชนนั้นๆ ทำให้วิถีชีวิตดั้งเดิมของชาวบ้านเปลี่ยนแปลงไป ในบางครั้งปัญหาเหล่านี้ก็มีความรุนแรงถึงขนาดเปลี่ยนแปลงวัฒนธ
รรมท้องถิ่นให้เป็นสินค้าตามความพึงพอใจของนักท่องเที่ยว เช่น พิธีโล้ชิงช้าของภาคเหนือ ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อขอพรจากสรวงสวรรค์ให้มีความอุดมสมบูรณ์ ซึ่งประเพณีนี้จะมีการจัดขึ้นทุกๆปี และจัดขึ้นปีละครั้ง แต่การเข้ามาของนักท่องเที่ยวที่ต้องการชมพิธีนี้ ทำให้นักท่องเที่ยวหลายคนจ้างชาวเขาให้แสดงพิธีนี้ให้ดูโดยที่อ
ยู่นอกเวลาเทศกาลประจำปี ทำให้ความหมายและความสำคัญของประเพณีนี้หมดสิ้นไป
หากปล่อยให้ปัญหาเหล่านี้ยังคงค้างคาต่อไปในอนาคต สักวันหนึ่ง ขนบธรรมเนียมและประเพณีของไทยเรา ที่มีความดีงาม มีความหมายลึกซึ้ง และบ่งบอกถึงภูมิปัญญาอันสูงส่งของแต่ละท้องถิ่น จะถูกแปรรูปเป็นสินค้าเพื่อตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยว
และวัฒนธรรม จะถูกประเมินคุณค่าด้วยเงินที่นักท่องเที่ยวยินดีที่จะจ่ายเท่า
นั้น เราจะยอมให้เป็นเช่นนี้หรือ ?
ปัญหานี้สามารถแก้ไขได้โดยการท่องเที่ยวแบบโฮมสเตย์ที่ให้นักท่
องเที่ยวได้เรียนรู้และใช้ชีวิตเช่นเดียวกับการดำเนินชีวิตของช
าวบ้าน ทำให้วิถีชีวิตของชาวบ้านไม่ได้เปลี่ยนแปลงไป นอกจากนี้ยังมีผลดีคือทำให้ชาวบ้านได้รายได้เพิ่มเติมจากอาชีพด
ั้งเดิมที่พวกเขาทำอยู่ เช่น ปลูกข้าว เลี้ยงสัตว์ เป็นต้น เพื่อมาจุนเจือให้พวกเขาสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างเพียงพอ
แต่การจะทำโฮมเสตย์ก็ไม่ใช่เรื่องที่ง่ายดายนักของชาวบ้าน เพราะพวกเขาขาดความรู้ในด้านการบริหาร
ธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็น